คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
-
ทุนวิจัย
-
- โครงการวิจัยที่ระยะเวลาการวิจัยสิ้นสุดแล้วและไม่ได้ขออนุมัติขยายเวลา จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง
-
จะมีผลกับการใช้จ่ายเงินของโครงการเนื่องจากใบเสร็จรับเงินที่เกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาสิ้นสุดแล้ว จะไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานค่าใช้จ่ายของโครงการได้ และหากมีการตรวจสอบนักวิจัยอาจจะต้องคืนเงิน
- การจ้างลูกจ้างชั่วคราวของโครงการ ต้องดำเนินการจ้างผ่านมหาวิทยาลัยหรือไม่
-
คณะ/หน่วยงาน สามารถดำเนินการจัดจ้างได้เอง
- การจัดชื้อวัสดุในโครงการวิจัย ต้องขออนุมัติจัดชื้อหรือไม่
-
ต้องขออนุมัติจัดชื้อจากหน่วยงานต้นสังกัดผู้รับทุน ตามรายการที่ได้รับอนุมัติในโครงการ
- การจัดซื้อครุภัณฑ์ กรณีที่เงินที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอหรือจัดซื้อแล้วมีเงินเหลือจ่าย สามารถเบิกจ่ายหรือมีแนวทางการใช้จ่ายเงินอย่างไร
-
- กรณีเงินไม่พอ สามารถใช้งบประมาณหมวดอื่น ๆ (เป็นงบในส่วนที่เบิกจ่ายให้นักวิจัยไป แล้วมาสมทบแล้วจัดซื้อตามระเบียบ กรณีเปลี่ยนแปลงรายงานครุภัณฑ์ ต้องขออนุมัติจากมหาวิทยาลัย
- กรณีเงินเหลือหรือไม่จัดซื้อ มหาวิทยาลัยจะคืนคลังแผ่นดิน
- ทุนวิจัยที่คณะ/หน่วยงานร่วมสนับสนุนงบประมาณ (Matching fund) มีประเภทใดบ้าง
-
มี 3 ประเภทคือ
1. ทุนประเภทความร่วมมือกับต่างประเทศ
2. ทุนแลกเปลี่ยนนักวิจัยระหว่างวิทยาเขต
3. ทุนดรุณาจารย์
- การส่งรายงานการวิจัยต้องจัดส่งกี่ชุด
-
แต่ละประเภทของทุนมีข้อกำหนดเรื่องการส่งรายงานที่แตกต่างกัน สามารถดูรายละเอียดได้ในประกาศรับข้อเสนอทุนหรือที่ เว็บไซต์สำนักวิจัยและพัฒนา
- การขอถัวจ่ายงบประมาณในโครงการวิจัย มีเงื่อนไขในการขอถัวจ่ายอย่างไรบ้าง
-
สามารถถัวจ่ายระหว่างหมวดได้ไม่เกิน 20 % ของหมวดที่ต้องการเพิ่ม หากเกินเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นต้องขออนุมัติจากมหาวิทยาลัย
- การจัดซื้อครุภัณฑ์ในโครงการวิจัย ต้องดำเนินการอย่างไร
-
จัดซื้อตามระเบียบพัสดุฯหรือตามระเบียบของมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานผู้ให้ทุน โดยผ่านคณะ/หน่วยงานต้นสังกัด และขอให้คณะ/หน่วยงาน จัดส่งเอกสารการจัดซื้อทัังหมดถึงสำนักวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งต่อให้กองคลังจ่ายเงินให้ร้านค้าต่อไป และขอให้คณะ/หน่วยงานต้นสังกัดผู้รับทุนขึ้นทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของ คณะ/หน่วยงาน หรือตามที่หน่วยงานผู้ให้ทุนกำหนด โดยใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(e-GP) สำหรับงบแผ่นดินด้วย
- อาจารย์ที่จะเป็นพี่เลี้ยงนักวิจัยที่จะขอรับทุนดรุณาจารย์จากมหาวิทยาลัย สามารถรับเป็นพี่เลี้ยงได้หลายโครงการหรือไม่
-
รับได้ไม่เกิน 1 โครงการ ยกเว้นสาขาที่หาพี่เลี้ยงยาก อนุโลมให้ได้ไม่เกิน 2 โครงการ
- จะตั้งงบค่าบริหารจัดการงานวิจัยอย่างไร
-
ให้ตั้งไว้ในโครงการที่เสนอขอทุนตั้งแต่งปี 2556 ในอัตราร้อยละ 10 ของงบประมาณรวมประจำปีใส่ไว้ในรายการค่าสาธารณูปโภค โดยไม่ต้องแจกแจงรายการ กรณีที่การดำเนินการวิจัยของโครงการต้องมีค่าใช้จ่ายในหมวดสาธารณูปโภคด้วย การตั้งงบประมาณหมวดนี้จึงต้องตั้งสูงกว่า 10% (10% แรกหักเป็นค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยและคณะ ส่วนที่เหลือเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณจิราวัลย์ โทร.6957
- นักวิจัยจะต้องจัดส่งหลักฐานค่าใช้จ่ายของโครงการวิจัยให้ ม. หรือไม่
-
ให้ผู้รับทุนเก็บหลักฐานการใช้จ่ายไว้ เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ ส่วนระยะเวลาการเก็บขึ้นอยู่กับระเบียบการเงิน
- เมื่อระยะเวลาวิจัยโครงการสิ้นสุดแล้ว แต่ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้นจะต้องดำเนินการอย่างไร
-
สามารถขอขยายเวลาวิจัยได้อีก 1 ปีนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาตามโครงการหรือตามสัญญา โดยขยายได้ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน
- โครงการชุด สามารถตั้งค่าตอบแทนนักวิจัย/ผู้ประสานงานโครงการได้หรือไม่
-
ตั้งเป็นต่าตอบแทนได้ 2 รายการ สำหรับ
1. ผู้อำนวยการชุดโครงการ ไม่เกิน 5,000 บาท/ปี/โครงการ
2. ผู้ประสานงานโครงการ ไม่เกิน 10,000 บาท/ปี/ชุดโครงการ
- โครงการชุด เมื่อดำเนินการวิจัยเสร็จแล้ว จะต้องส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบใด
-
เลือกจัดส่งได้แบบใดแบบหนึ่งจาก 2 แบบ คือ
1. รายงานรูปแบบเดิม
- โครงการชุด ใช้แบบ PSU Grant_Report_2013(1.1)
- โครงการย่อย ใช้แบบ PSU Grant_Report_2013(1.2)
2. รายงานรูปแบบใหม่
- โครงการชุด ใช้แบบ PSU Grant_Report_2013(2.1)
- โครงการย่อย ใช้แบบ PSU Grant_Report_2013(2.2)
- จะส่งผลงานจากการวิจัยตามที่ Commit ไว้ในโครงการได้ถึงเมื่อไร
-
ต้องส่งผลงานภายใน 1 ปีหลังสิ้นสุดระยะเวลาการวิจัยตามสัญญารับทุน หรือ ภายใน 1 ปีหลังสิ้นสุดระยะเวลาการวิจัยที่ได้รับอนุมัติให้ขยายจากมหาวิทยาลัย
- โครงการเดี่ยว เมื่อดำเนินการวิจัยเสร็จแล้ว จะส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบใด
-
เลือกจัดส่งได้แบบใดแบบหนึ่ง จาก 2 แบบ คือ
1. รายงานรูปแบบเดิม โดยใช้แบบ PSU Grant_Report_2013(1.2)
2. รายงานรูปแบบใหม่ โดยใช้แบบ PSU Grant_Report_2013(2.2)
- เป็นนักวิจัยใหม่ เพิ่งมาทำงาน ไม่ทราบว่าจะขอทุนวิจัยอะไรได้บ้าง
-
เงินทุนวิจัยในส่วนที่ฝ่ายดำเนินการ (ฝ่าย2) สำนักวิจัยและพัฒนาดูแล มี 3 ประเภท คือ
1. ทุนวิจัยจากเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภททุนวิจัย และ ประเภทสนับสนุนนักวิจัย
2. ทุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน
3. ทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย
สำหรับ "บันไดการขอทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยใหม่" มีดังนี
Step 1 ทุนพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์ใหม่
Step 2 ทุนพัฒนานักวิจัย/ทุนดรุณาจารย์
Step 3 ทุนทั่วไปและสิ่งประดิษฐ์/ทุนงบประมาณแผ่นดิน/ทุนโครงการแลกเปลี่ยนนักวิจัยและการทำวิจัยร่วมระหว่างวิทยาเขต/ทุนโครงงานสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรม/ชุมชน/ทุนโครงงานของนักศึกษา/Posdoctoral/ทุนความร่วมมือกับต่างประเทศ/ทุนสนับสนุนกิจกรรมการวิจัย ณ ต่างประเทศ/ทุนวิจัยภายนอก
Step 4 ทุนเมธาจารย์/ทุนสนับสนุนเครือข่ายวิจัย/ทุนวิจัยภายนอก
Step 5 ทุนปราชญาจารย์/ทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ/ทุนวิจัยภายนอก
โปรดศึกษารายละเอียดทุนแต่ละประเภทได้จาก เว็บไซต์สำนักวิจัยและพัฒนา หัวข้อ ทุนวิจัย ---> ทุนวิจัยภายใน (กรณีขอทุนเงินรายได้/งบแผ่นดิน) ---> ทุนวิจัยภายนอก (กรณีขอทุนจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย)
-
การจัดตั้งเครือข่ายวิจัย
-
- KPI การจัดตั้งเครือข่ายวิจัย ยืดหยุ่นได้หรือไม่
-
เครือข่ายวิจัยสามารถเจรจาต่อรอง KPI เป้าหมายกับมหาวิทยาลัยได้ โดย KPI ที่เครือข่ายคาดว่าไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย สามารถชดเชยได้ด้วย KPI อื่นซึ่งเป็นผลงานประเภทเดียวกัน
- บุคลากรสายสนับสนุน จะสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิจัยได้หรือไม่
-
มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนที่ทำวิจัย เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิจัย
- นักวิจัยเกรงว่าจะเสียเวลาเพราะไม่แน่ใจว่าจะได้รับทุนหรือไม่ เนื่องจากกระบวนการพิจารณาล่าช้า
-
มหาวิทยาลัยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายวิจัยทุกสาขาการวิจัย กระบวนการพิจารณาที่อาจล่าช้าบ้าง เนื่องจากบางเครือข่ายวิจัยจำเป็นต้องแก้ไข/ปรับปรุงข้อเสนอโครงการจัดตั้ง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเครือข่ายวิจัย โดยนักวิจัยสามารถติดตามผลการพิจารณาโครงการได้ทุกขั้นตอนได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 074-28-6952
- เงื่อนไขที่ต้องเชื่อมโยงกับบัณฑิตศึกษา
-
เนื่องจากมหาวิทยาลัยเน้นวิจัยที่เชื่อมโยงกับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรที่ยังไม่มีบัณฑิตศึกษาสามารถยกเว้นได้
- การรายงาน KPI ผลงานตีพิมพ์และจำนวนเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากแห่งทุนภายนอกในรายงานผลการดำเนินการของเครือข่าย โดยให้คำนวณสัดส่วนผลงานตาม (%) รับผิดชอบของเครือข่าย มีวิธีอย่างไร
-
ให้นำ % รับผิดชอบ ไปคูณกับผลงานที่เกิดขึ้น เช่นตัวอย่างการรายงานผลงานตีพิมพ์ เมื่อรายงานรายละเอียดผลงานตีพิมพ์ 1 เรื่องเครือข่ายระบุว่ามีส่วนรับผิดชอบ 80% เท่ากับเครือข่ายจะมีผลงานจากงานตีพิมพ์ชิ้นนี้เพียง 0.8 เรือง คลิกดูตัวอย่าง
- ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในรายงานผลการดำเนินการของเครือข่ายวิจัย
-
1. เครือข่ายวิจัยระบุรายชื่อบุคลากรในหน่วยวิจัยไม่ครบตาม MOU มีบุคลากรเดิมที่ลาออก หรือเพิ่มเติมเข้ามาโดยไม่ได้ขออนุมัติจากทางมหาวิทยาลัย
2. เครือข่ายวิจัยระบุเป้าหมายไม่ตรงกับ Proposal ที่ได้รับอนุมัติ
3. ในการรายงานรายชื่อคณะผู้วิจัยที่ทำโครงการวิจัยร่วมกัน เครือข่ายไม่ระบุ(%)รับผิดชอบของนักวิจัยแต่ละคน
4. กรณีเครือข่ายวิจัยระบุปัญหา/อุปสรรค เครือข่ายวิจัยไม่ระบุแนวทางแก้ไขปัญหามาด้วย
5. เครือข่ายวิจัยแนบหลักฐานประกอบรายงานผลการดำเนินการไม่ครบถ้วน และรายละเอียดผลงานไม่สอดคล้องกับหลักฐานที่แนบ
6. เครือข่ายวิจัยมักจะไม่รายงานผลงานตามสัดส่วนผลงานของเครือข่าย(เช่น ผลงานตีพิมพ์งบประมาณสนับสนุนโครงการวิจัยที่ได้รับ)
7. กรณีรายงานผลงานนักวิจัยใหม่ เครือข่ายวิจัยไม่ระบุชื่อโครงการ/แหล่งทุนที่เสนอขอ ที่นักวิจัยใหม่จะดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายวิจัย
-
การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
-
- ขาดเทคนิคการเขียนบทความวิจัยและวิชาการ ยังเขียนและเริ่มต้นไม่เป็น
-
ต้องการให้ RDO ทำ Publication Work Shop ให้กับกลุ่มนักวิจัยเฉพาะทางหรือกลุ่มอย่างต่อเนื่องและสามารถมี Output ที่เป็นบทความตีพิมพ์บทความในระดับชาติและนานาชาติได้จริง (กำลังดำเนินการ)
- ยังไม่เห็นความสำคัญในการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
-
สร้างเครือข่ายความร่วมมือในศาสตร์เฉพาะด้าน และมี Mentor สำหรับนักวิจัยใหม่
-
ฐานข้อมูลวิจัยและฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-
- ฐานข้อมูลวิจัยมีหลายระบบทำให้ต้องกรอกซ้ำ
-
กำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิจัยให้มีแห่ลงเดียว กรอกที่เดียว เพื่อถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบของหน่วยงานอื่นได้ เช่น วช.
-
ด้านบัณฑิตศึกษา
-
ข้อเสนอแนะด้านอื่น ๆ
-
ระบบ PRPM/ระบบ NRPM
-
- โครงการที่ได้รับทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน เมื่อส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์แล้ว จะถือว่าปิดโครงการไม่มีภาระผูกพันกับมหาวิทยาลัยแล้วใช่หรือไม่
-
ยังไม่ถือว่าปิดโครงการ จนกว่าผู้รับทุนได้กรอกรายงานสมบูรณ์พร้อมแนบไฟล์ในระบบ NRPM แล้ว
- จะเข้าระบบ PRPM/ระบบ NRPM ได้อย่างไร
-
- ระบบ PRPM ให้ใช้รหัส PSU passport ของนักวิจัย หากมีปัญหาการเข้าระบบติดต่อคุณจันทนา โทร.6969 หรืออีเมล์ jantana.p@psu.ac.th
- ระบบ NRPM ให้ใช้รหัสบัตรประชาชนของนักวิจัย หากมีปัญหาการเข้าระบบติดต่อคุณจิราวัลย์ โทร.6957 หรืออีเมล์ chirawan.l@psu.ac.th
- ระบบ PRPM(PSU Research Project Managemet)ต่างกับระบบ NRPM(National Research Project Management)อย่างไร
-
ระบบ PRPM เป็นระบบบริหารจัดการงานวิจัยของ ม.อ.ส่วนระบบ NRPM เป็นระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
- ขอทุนงบแผ่นดิน ใช้ระบบ PRPM หรือระบบ NRPM
-
ขณะนี้จำเป็นต้องใช้ 2 ระบบ เพราะระบบ PRPM ยังพัฒนาไม่แล้วเสร็จ ดังนั้น ขณะนี้นักวิจัยจำเป็นต้องใช้ระบบ PRPM ในขั้นตอน Pre-audit คือ เมื่อเสนอโครงการวิจัยขอรับทุนเงินงบประมาณแผ่นดินแบบปกติ และใช้ระบบ NRPM ในขั้นตอน On-going คือ หลังจากได้รับทุนแล้ว และ Post-audit หลังจากดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ในอนาคตจะใช้เพียงระบบ PRPM ระบบเดียว
- ผู้ที่ใช้ Internet ของTrue หรือ 3BB ในการใช้งานระบบ NRPM
-
หากพบว่าเข้าระบบ NRPM ตามปกติไม่ได้สามารถใช้ https เพื่อเข้าระบบได้คือ https://nrpm.nrct.go.th/Default.aspx โดยตอนเข้าครั้งแรก Browser จะแจ้งเตือนให้ยืนยันความปลอดภัยก็ให้ยืนยันการเข้าใช้ จากนั้นก้ใช้งานได้ตามปกติ
-
ทุนวิจัย(NRU)
-
- การใช้จ่ายเงินวิจัยโครงการ NRU หลังจากที่ได้รับงบจาก สกอ.ในลักษณะการจ้างที่ปรึกษาจะใช้จ่ายอย่างไร
-
งบประมาณที่ได้รับจาก สกอ.เป็นลักษณะทุนอุดหนุนทั่วไป ดังนั้น การเบิกจ่ายเงินให้ใช้ตามประกาศฯเรื่องแนวปฏิบัติเกี่นวกับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินรายได้ (มีข้อสงสัยโปรดติดต่อที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-7428-6951)
- กรณีหานักศึกษาปริญญาเอกมารับทุนตามที่ commit ไว้ไม่ได้ จะขอเปลี่ยนนักศึกษาจากปริญญาเอกเป็นนักศึกษาปริญญาโทแทน ได้หรือไม่
-
ได้ แต่จะต้องรับนักศึกษาปริญาโท 2 คน และนักศึกษา 2 คนนั้นจะได้รับทุนไม่เกินงบประมาณในส่วนของนักศึกษาปริญญาเอกที่ได้อนุมัติแล้ว เท่านั้น
- การยืมเงินทดรองจ่าย โครงการ NRU มีขั้นตอนอย่างไร
-
มีขั้นตอนดังนี้
1. คณะฯ ทำบันทึกข้อความ ขออนุมัติยืมเงินทดรองจ่าย (จำนวน%) ซึ่งยืมโดยคณบดีของคณะฯตามวงเงินที่ได้รับแจ้ง จากมหาวิทยาลัย เพื่อเบิกจ่ายแก่โครงการวิจัยที่ได้รับทุนภายในคณะฯ
2. คณะฯ จัดทำสัญญายืมเงิน โดยผู้ยืมคือคณบดี จำนวน 2 ฉบับ
2.1 ตัวจริง 1 ฉบับ
2.2 สำเนา 1 ฉบับ
3. คณะฯ แนบเอกสารรายชื่อโครงการที่ได้รับอนุมัติ(สำหรับโครงการวิจัยต่อเนื่อง)ส่วนโครงการวิจัยใหม่ที่ได้รับอนุมัติในปีงบประมาณ 2555 แนบเอกสารรายชื่อโครงการที่ได้รับอนุมัติ และสัญญารับทุนโครงการวิจัยที่ได้รับทุน ตัวจริงจำนวน 2 ฉบับ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มสัยญารับทุนได้ ที่นี่
4. จัดส่งเอกสารตามข้อ 1-3 ไปยังมหาวิทยาลัย(สำนักวิจัยและพัฒนา)เจ้าหน้าที่โครงการ NRU ตรวจสอบความถูกต้องในเอกสาร
5. เสนอผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการยืมเงิน และลงนามในสัญญารับทุนโครงการวิจัย
6. จัดส่งสัญญายืมเงินไปยังกองคลังเพื่อออกเช็คในนามคณบดีของคณะฯ ที่ยืมเงิน
7. คณะฯ จ่ายเงินให้หัวหน้าโครงการ
- การจัดทำสัญญารับทุนบัณฑิตศึกษา ภายใต้โครงการ NRU มีขั้นตอนอย่างไร
-
มีขั้นตอน ดังนี้
1. คณะฯ/นักวิจัย จัดส่งรายชื่อนักศึกษาที่ประสงค์จะให้ได้รับทุน ไปยังมหาวิทยาลัย (สำนักวิจัยและพัฒนา) ตามแบบฟอร์ม NRU7
2. เจ้าหน้าที่โครงการ NRU ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดทำประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนบัณฑิตศึกษา เพื่อเสนอผู้มีอำนาจลงนาม
3. เจ้าหน้าที่โครงการ NRU สำเนาประกาศรับทุนแจ้งให้คณะที่เกี่ยวข้องทราบ
4. เจ้าหน้าที่โครงการ NRU นำรายชื่อนักศึกษาขึ้นเว็บไซต์ โดยนักวิจัย/นักศึกษา
5. คณะฯ/นักวิจัย/นักศึกษา/ ส่งสัญญารับทุนบัณฑิตศึกษา ไปยังมหาวิทยาลัย (สำนักวิจัยและพัฒนา) ตัวจริง จำนวน 3 ฉบับ
6. เจ้าหน้าที่โครงการ NRU ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องในสัญญา และเสนอผู้มีอำนาจลงนามในสัญญารับทุนบัณฑิตศึกษา
7. เจ้าหน้าที่โครงการ NRU จัดส่งสัญญารับทุนรับทุนคืนแก่คณะฯจำนวน 2 ฉบับ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานที่คณะฯจำนวน 1 ฉบับ และให้นักวิจัย/นักศึกษา เก็บเป็นหลักฐาน 1 ฉบับ และเก็บหลักฐาน สำนักงานโครงการ NRU สำนักวิจัยและพัฒนา จำนวน 1 ฉบับ เบิกจ่ายเงินให้แก่คณะฯเพื่อจ่ายแก่นักวิจัย
- ใครควรเป็นพยานในสัญญารับทุนบัณฑิตศึกษา
-
- พยานฝ่ายผู้รับทุน ควรเป็นผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าภาคขึ้นไป
- พยานฝ่ายผู้ให้ทุน เป็นเจ้าหน้าที่โครงการ NRU
- การรับทุนวิจัยโครงการ NRU จะต้องทำสัญญารับทุนหรือไม่ ถ้าทำมีขั้นตอนอย่างไร
-
ต้องทำสัญญารับทุนเป็นสัญญาตลอดโครงการ โดยมีขั้นตอนรายละเอียดดังนี้
1. คณะฯ/นักวิจัย จัดส่งสัญญารับทุนโครงการวิจัยจำนวน 2 ฉบับ
2. เจ้าหน้าที่โครงการ NRU ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องในสัญญา และเสนอผู้มีอำนาจลงนาม
3. เจ้าหน้าที่โครงการ NRU จัดส่งสัญญารับทุนคืนแก่คณะฯ/นักวิจัย จำนวน 1 ฉบับ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานที่คณะฯ/นักวิจัย ที่ได้รับทุน และเก็บเป็นหลักฐาน สำนักงานโครงการ NRU สำนักวิจัยและพัฒนา จำนวน 1 ฉบับ
- นักศึกษาผู้รับทุนโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ แต่ผลงานค้นคว้าวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์จากโครงการวิจัยยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในฐาน Scopus หรือ ISI จะสามารถขอจบการศึกษาได้หรือไม่
-
สามารถขอจบการศึกษาได้ โดย
1. นักศึกษาจะต้องส่งวิทยานิพนธ์แล้ว
2. นักศึกษาจะต้องจัดส่งนิพนธ์ต้นฉบับของผลงานจากวิทยานิพนธ์ (manuscript) เพื่อตีพิมพ์ไปยังวารสารวิชาการแล้ว (มีใบตอบรับต้นฉบับจากวารสาร)
3. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักรับรองติดตามให้ผลงานได้รับการตีพิมพ์ โดยจัดทำหนังสือรับรองฯ
-
ทุนหลังปริญญาเอก (Postdoc)
-
- คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครทุน Postdoc มีอย่างไรบ้าง ดูได้ที่ไหน
-
เป็นนักวิจัยชาวไทย/ชาวต่างประเทศที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกไม่เกิน 5 ปี (ไม่นับวุฒิบัตรหรือเทียบเท่า)ที่ได้สมัครและไดรับการคัดเลือกจากอาจารย์ที่ปรึกษาให้เข้าร่วมทำการวิจัย ที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี(นับถึงวันที่สิ้นสุดการรับสมัครในรอบปี)โดยมีหรือเคยมีผลงานวิจัยที่เป็นชื่อแรกที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติย้อนหลัง 5 ปี อย่างน้อย 1 เรื่อง สามารถทำงานวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยได้เต็มเวลา และไม่อยู่ระหว่างได้รับทุนโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกจากแหล่งทุนอื่นภายในประเทศ หรือจากองค์กรต่างประเทศดูได้จากประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดูรายละเอียดได้ที่ ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก
- นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาระดับ ป.เอก สามารถสมัครทุนหลังปริญญาเอก (Postdoc) ได้หรือไม่
-
สมัครได้ แต่สามารถจะรับทุนได้หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว
- นักศึกษาที่มีบทความตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact factor น้อย ๆ จะมีผลต่อการพิจารณาของทุน Postdoc หรือไม่
-
Impact factor ของวารสารไม่ได้เป็นประเด็นหลักในการพิจารณาผู้ที่จะเป็น Postdoc