ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ, รศ.ดร.วราภรณ์ ตันรัตนกุล, ดร.วิวัฒน์ พิชญากร,
ดร.วิรัช ทวีปรีดา, ดร.เอกวิภู สกลการณ์สุปราณี และ พว.สมพร วรรณวงศ์
หน่วยวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากพอลิเมอร์เชิงคลินิก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
E-mail:This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะในประเทศไทยมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นทุกปี แต่ด้วยเทคโนโลยีการตรวจและรักษาในปัจจุบันทำให้การตรวจพบและรักษาทำได้อย่างรวดเร็ว ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาว แต่กระนั้น การมีชีวิตที่ยืดยาวออกไปนั้น ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย หลายรายมีความพิการบางอย่างติดตามมา โดยเฉพาะการมีทวารเทียม หรือการที่แพทย์ต้องผ่าตัดให้ลำไส้ใหญ่มาเปิดที่หน้าท้องเพื่อผู้ป่วยจะได้ขับถ่ายอุจจาระหรือขอเสียแทนการขับถ่ายทางทวารหนักเหมือนก่อนผ่าตัด รูเปิดเช่นนี้มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “ทวารเทียม”
ผู้ป่วยที่มีทวารเทียมจะต้องขับถ่ายอุจจาระทางรูเปิดของลำไส้ที่ผนังหน้าท้องซึ่งไม่มีหูรูดเหมือนทวารหนัก ดังนั้นจะมีของเสียไหลทั้งอุจจาระและผายลมออกมาได้ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต้องใช้ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมตลอดเวลา และบางรายต้องใช้ไปตลอดชีวิต ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยแป้นติดผิวหนังและถุงรองรับสิ่งขับถ่ายประกอบติดกัน สามารถถอดนำถุงออกมาล้างทำความสะอาดได้
ปัญหาที่สำคัญของการที่ต้องใช้ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมนี้คือ ความขาดแคลน การไม่สามารถเข้าถึงบริการของชุดอุปกรณ์ที่มีจำนวนจำกัด ราคาสูง รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว เช่น ผื่นแพ้ที่ผิวหนัง การหลุดลอกของชุดอุปกรณ์ก่อนเวลาอันควร ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิต
จากการศึกษาย้อนหลังของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (2556-2558) ได้ใช้แป้นและถุงทวารเทียมจาก 2 ยี่ห้อบริษัทต่างประเทศ โดยไม่มีการใช้ของที่ผลิตจากภายในโรงพยาบาล ราคาจำหน่ายในโรงพยาบาล แผ่นละ 122-188 บาท ตามขนาดและชื่อของผลิตภัณฑ์ ผู้ป่วยหรือญาติต้องเดินทางมาติดต่อซื้อใหม่ที่โรงพยาบาลเกือบทุกเดือน และมีจำหน่ายเฉพาะบางโรงพยาบาลใหญ่ ๆ บางแห่งเท่านั้น โดยหากคิดค่าใช้จ่ายในการใช้แผ่นติดผิวหนังรอบทวารเทียมของต่างประเทศสำหรับผู้ป่วย จำนวนการใช้และมูลค่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ปริมาณการใช้และค่าใช้จ่ายของชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558
รายการ |
ปี 2556 |
ปี 2557 |
ปี 2558 |
ค่าเฉลี่ยต่อปี |
||||
จำนวนชิ้น |
จำนวนเงิน |
จำนวนชิ้น |
จำนวนเงิน |
จำนวนชิ้น |
จำนวนเงิน |
จำนวนชิ้น |
จำนวนเงิน |
|
แป้น |
27,870 |
3,081,457.00 |
30,256 |
3,409,446.00 |
32,151 |
3,614,739.00 |
30,090 |
3,368,547.33 |
ถุง |
19,990 |
1,129,115.00 |
23,745 |
1,368,962.00 |
24,145 |
1,390,315.00 |
22,626.67 |
1,296,130.67 |
รวม |
47,860 |
4,210,572.00 |
54,001 |
4,778,408.00 |
56,296 |
5,005,054.00 |
52,719 |
4,664,678.00 |
นอกจากนี้ ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและญาติใน การเดินทางมาซื้อวัสดุ ค่าที่พัก และการเสียเวลาในการทำงานของญาติอีกด้วย จากปัญหาดังกล่าวจึงมีความพยายามที่จะหาวัสดุทดแทนที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ ใช้วัสดุภายในประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ และมีรูปแบบของชุดอุปกรณ์ที่เหมาะกับผิวและผนังหน้าท้องของคนไทย จึงเป็นที่มาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพารามาใช้เป็น “ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม”
รูปซ้าย: การใช้งานอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่มีทวารเทียมจากยางพาราสกัดโปรตีนที่ผลิตขึ้น
รูปขวา: อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยทวารเทียมเพื่อรองรับสิ่งขับถ่ายจากยางพาราสกัดโปรตีนที่ผลิตขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการพัฒนาบริการ
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ความต้องการได้รับการรักษาที่ดีสุด อยากหายจากโรค คือความคาดหวังของผู้ป่วยและทีมรักษา แม้ปัจจุบัน ประชากรไทยทุกคนต่างมีสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม แต่ในทางปฏิบัตินั้นยังคงมีข้อจำกัดหรืออุปสรรคบางอย่างเกิดขึ้นที่หน้างาน เช่น ยารักษาโรคและอุปกรณ์บางอย่าง ผู้ป่วยยังต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ดังตัวอย่าง อุปกรณ์ทวารเทียม ที่ปัจจุบันภาครัฐได้ให้การสนับสนุนเพียง 3-10 ชิ้น/เดือน โรงพยาบาลรัฐบางแห่งให้ผู้ป่วยใช้เพียงแค่ 3 ชุด/เดือน ถ้าต้องใช้เพิ่มต้องจ่ายเงินเอง หรือต้องหาซื้อจากร้านค้าภายนอก ผู้ป่วยหลายรายต้องมีความทุกข์จากกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เนื่องจากไม่มีเงินซื้ออุปกรณ์ชุดใหม่ ยังจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เดิม ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งที่ได้รับความทุกข์จากโรคมากพอแล้ว การผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ได้เองในประเทศ อาจเป็นหนทางช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเราต้องนำเข้าอุปกรณ์รองรับสิ่ง
ขับถ่ายจากทวารเทียมจากต่างประเทศ 100% หากมีการสนับสนุนการใช้วัตถุดิบยางธรรมชาติภายในประเทศ ซึ่งยางหลังจากแปรรูปสามารถจัดเก็บได้นานถึง 5 ปี พร้อมกับผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานและได้รับการจดสิทธิบัตรอันจะส่งประโยชน์ทางตรงแก่ผู้ป่วยได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและประโยชน์ทางอ้อมคือ เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางของไทย
โดยประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการพัฒนาบริการ จึงเป็นผลประโยชน์ที่หน่วยงานโรงพยาบาลใน ภาครัฐที่เกี่ยวกับสามารถลดค่าใช้จ่าย โดยจากข้อมูลของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ย้อนหลัง3 ปีมีปริมาณ การใช้ อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมที่มีการจัดซื้อจากบริษัทต่างประเทศโดยเฉลี่ย 4,664,678 บาท/ปี หากใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเองรัฐจะจ่ายเงินแค่เฉลี่ย 2,709,458 บาท/ปี สามารถลดค่าใช้จ่ายลงเป็นเงิน 1,955,220 บาท/ปี คิดเป็นการลดลง41.92% ของงบประมาณเดิมที่ต้องโรงพยาบาลต้องจ่าย ได้ความคุ้มค่า ส่งผลที่ได้รับต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความมั่นคง เป็นที่ยอมรับแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มากกว่าการผลิตยางพาราที่เป็นวัตถุดิบ แล้วส่งให้ต่างชาตินำยางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้วกลับมาขายประเทศไทยผู้ซึ่งผลิตยางพาราเอง
ในมุมมองเชิงผู้ป่วย ผู้ป่วยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนางานนี้ ในมุมมองเชิงกว้าง พบว่ามีผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ ประมาณจำนวนเฉลี่ยต่อปีต่อโรงพยาบาล 1 แห่ง จำนวน 30,000 ชุด คาดการณ์โรงพยาบาลใหญ่ในภาครัฐรวม ทั้งโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 7,000 แห่ง ซึ่งถ้ามีการใช้อุปกรณ์ที่มีทวารเทียมในจำนวนครึ่งหนึ่ง ในราคาครึ่งหนึ่งของราคาเดิม จะสามารถช่วยประหยัดเงินภาครัฐได้และสามารถตอบสนองความต้อง การและเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย และครอบครัวได้อย่างมาก