การออกฤทธิ์ขับไล่ด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais Motschulsky) ของน้ำมันจากพืชบางชนิด

รศ.ดร.อรัญ งามผ่องใส กนกอร วุฒิวงศ์ และ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ
สถานวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ ระยะที่ 2 คณะทรัพยากรธรรมชาติ
E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

     ปัญหาสำคัญของการเก็บรักษาผลผลิตข้าวหลังการเก็บเกี่ยว คือ การเข้าทำลายของแมลง โดยเฉพาะด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais Motschulsky) ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ

      ปัจจุบันการใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่สลายตัวได้ง่าย และปลอดภัยมีบทบาทมากขึ้น เพื่อทดแทนการใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ซึ่งส่วนใหญ่มีอันตราย และตกค้างในผลผลิตมากกว่าสารสกัดจากพืช สารสกัดที่มีสมบัติดังกล่าวพบได้ในส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เมล็ด ผล เปลือก เหง้า เป็นต้น มีรายงานว่าในน้ำมันหอมระเหยจากพืชมีสารสำคัญซึ่งมีผลต่อโครงสร้างและออกฤทธิ์ต่อแมลงในรูปแบบต่างๆ เช่น สัมผัสแล้วตาย ไล่แมลง ยับยั้งการวางไข่ ยับยั้งการกินอาหาร และควบคุมการเจริญเติบโต ดังนั้นสารสกัดจากพืชจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ควบคุมแมลงศัตรูในโรงเก็บ เพราะนอกจากจะมีการออกฤทธิ์ต่อแมลงหลายรูปแบบแล้วยังปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

วิธีการศึกษา

     ศึกษาการออกฤทธิ์ขับไล่ด้วงงวงข้าวโพดของน้ำมันจากพืช 5 ชนิด คือ พริกไทยดำ ขมิ้นชัน กานพลู ตะไคร้หอม และสะเดาช้าง ด้วยการทดสอบแบบมีทางเลือก โดยปล่อยตัวเต็มวัยในจานทดสอบซึ่งมีกระดาษกรองรูปวงกลมที่ครึ่งหนึ่งมีสารทดสอบที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่มีสารทดสอบ ดังรูปที่ 1 นับจำนวนแมลงที่พบบนกระดาษทั้งสองฝั่ง เพื่อนำไปคำนวณเปอร์เซ็นต์การขับไล่ที่เวลาต่างๆ

 

รูปที่ 1 ก. แสดงกระดาษกรอง (แบ่งครึ่ง)    ข. ครึ่งสีเขียวมีสาร ครึ่งสีแดงไม่มีสาร

 

สรุปผลการทดลอง

    การศึกษาการออกฤทธิ์ขับไล่ตัวเต็มวัยของด้วงงวงข้าวโพด พบว่าสารสกัดน้ำมันพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการขับไล่ด้วงงวงข้าวโพดดีที่สุด (90.11%) รองลงมาคือ ขมิ้นชัน (89.44%) สะเดาช้าง (73.22%) ตะไคร้หอม (62.34%) และกานพลู (49.89%) ตามลำดับนอกจากนี้ยังพบว่า น้ำมันพริกไทยดำ ขมิ้นชัน และสะเดาช้างสามารถไล่ตัวเต็มวัยด้วงงวงข้าวโพดได้ดี หลังจากทดสอบสารเป็นเวลานาน 12 ชั่วโมง

ดังตาราง และรูปที่ 2

ตาราง แสดงความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหย (ไมโครลิตร/ตร.ซม.) ต่อการขับไล่ด้วงงวงข้าวโพด (%)

 

* นำน้ำมันหอมระเหยปริมาตรข้างต้นละลายน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ตร.เมตร

 

รูปที่ 2 แสดงความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหย (%) และประสิทธิภาพในการขับไล่ (ชั่วโมง)

English Version [Click]

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy