การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetologia (วารสารของสมาคมยุโรปเพื่อการศึกษาโรคเบาหวาน (EASD) พบว่าอาหารพลังงานต่ำในรูปแบบอาหารสูตรสำเร็จทดแทนมื้ออาหารปกติ (formula meal replacement) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการจัดการน้ำหนักตัวและการหายจากโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในขณะที่สูตรอาหารแบบปรับสัดส่วนอาหารหลักไม่สำคัญต่อผลลัพธ์
ดร.นพ.ชายธง ชูเรืองสุข (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ประเทศไทย) ร่วมกับ ศ.นพ.ไมเคิล ลีน (มหาวิทยาลัยกลาสโกว) และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (สหราชอาณาจักร) และมหาวิทยาลัยโอทาโก (นิวซีแลนด์) ได้ทำการศึกษาอย่างเป็นระบบรวบรวมการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาณที่ตีพิมพ์ว่าอาหารประเภทใดดีที่สุดสำหรับการจัดการน้ำหนักตัวในผู้ใหญ่ที่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 2
แม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะได้รับอิทธิพลจากทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม แต่การเพิ่มขึ้นของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้ผลักดันให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงขึ้นทั่วโลกตามไปด้วย ผู้เขียนหมายเหตุ: “หากไม่มีความมุ่งมั่นเชิงกลยุทธ์ในระดับสากลเกี่ยวกับการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ โรคเบาหวานประเภท 2 จะส่งผลกระทบต่อผู้คนประมาณ 629 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2588”
การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และอาจเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของฮอร์โมนในลำไส้ การอักเสบในระดับต่ำ รวมไปถึงเมแทบอลิซึมจากจุลินทรีย์ในลำไส้ ผู้ที่มีความเสี่ยงมักจะมีรอบเอวที่ใหญ่และมีไขมันสะสมในตับ ตับอ่อนและกล้ามเนื้อ ทำให้การทำงานของอวัยวะบกพร่อง ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจนกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การลดน้ำหนักตัวจึงมีความสำคัญต่อการดูแลรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการลดน้ำหนักที่เพียงพอสามารถขจัดไขมันในร่างกายที่ผิดปกติออกจากตับและตับอ่อน และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เกณฑ์ปกติ หยุดการใช้ยาเบาหวานรวมถึงหายจากการเป็นเบาหวานได้ นอกจากนี้ การลดน้ำหนักตัวยังช่วยลดระดับไขมันและความดันโลหิตสูง รวมถึงลดการใช้ของโรคเหล่านี้ได้อีกด้วย
ในการศึกษาขนาดใหญ่ DiRECT study สหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กร Diabetes UK พบว่าเกือบร้อยละ80 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ลดน้ำหนักได้มากกว่า 10 กิโลกรัมและยังคงรักษาน้ำหนักที่ลดลงนี้ไว้ได้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีสามารถหายจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
แม้ว่าจะมีความตระหนักในวงกว้างเกี่ยวกับประโยชน์ของการลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็ยังขาดคำแนะนำที่เชื่อถือได้ว่าอาหารสูตรใดดีที่สุดสำหรับการลดน้ำหนักในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทำให้เกิดการโต้เถียงกันในวงวิชาการเกี่ยวกับประเภทอาหารและสูตรอาหาร ส่งผลให้เกิดการไม่ปฏิบัติตัวและความล่าช้าในการรักษา แนวทางปฏิบัติในปัจจุบันเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดการน้ำหนักแบบเฉพาะบุคคล และระบุว่ากลยุทธ์การควบคุมอาหารแบบต่างๆ อาจมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของอาหาร สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารตามหลักฐานที่บิดเบี้ยวและการกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิด
การรับประทานอาหารที่มีการจำกัดพลังงานจะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างยั่งยืน โดยมีเงื่อนไขว่าการใช้พลังงาน (แคลอรี่) มากกว่าปริมาณที่บริโภคเข้าไป อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ความสม่ำเสมอในการทำตามโปรแกรมอาหารสูตรต่าง ๆ และการลดน้ำหนักนั้นแตกต่างกันอย่างมากแม้ว่าจะอยู่ในโปรแกรมการควบคุมอาหารเดียวกัน และการเปรียบเทียบระหว่างอาหารบางอย่างก็อาจแสดงผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน เพื่อแก้ไขความไม่แน่นอนเหล่านี้และเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางคลินิกและการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงคำแนะนำของ European Association for the Study of Diabetes (EASD) จึงเกิดเป็นการศึกษาวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา ซึ่งพบว่า อาหารที่ลดน้ำหนักได้มากที่สุดในผู้ป่วยเบาหวาน คือ อาหารสูตรที่ให้พลังงานต่ำมาก (very low energy diet) ในรูปแบบของ 'การทดแทนอาหารทั้งหมด' (Total Diet Replacement) ที่ 400-500 กิโลแคลอรี/วัน เป็นเวลา 8-12 สัปดาห์ ทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักลดลงถึง 6.6 กก. เมื่อเทียบกับอาหารที่ให้พลังงานต่ำทั่วไป 1,000-1500 kcal/วัน นอกจากนี้ยังพบว่า การทดแทนมื้ออาหารด้วยอาหารสูตรสำเร็จ (formula meal replacement) มีประสิทธิภาพเหนือกว่าการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำในรูปแบบอาหารปกติ โดยสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่า 2.4 กก. ในช่วง 12-52 สัปดาห์ หลักฐานที่ตีพิมพ์ยังแสดงให้เห็นว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำไม่ได้ดีไปกว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงสำหรับการลดน้ำหนักตัว
สำหรับการหายจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ไม่มีการเปรียบเทียบโดยตรงระหว่างประเภทอาหาร แต่ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์แสดงให้เห็นอัตราการหายจากโรคที่ดีที่สุด โดยสูงถึงรายละ 46-61 ที่ 12 เดือนหลังจากเริ่มเข้าโปรแกรมที่ใช้การทดแทนอาหารทั้งหมด (Total Diet Replacement) 830 kcal/วัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ตามด้วยอาหารคาร์โบไฮเดรตสูงที่มีไขมันต่ำและทดแทนมื้ออาหารเพื่อคงน้ำหนักตัวในระยะยาว ในทางตรงกันข้าม อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นพบรายงานอัตราการหายจากโรคเพียงแค่ร้อยละ 4-19 ของผู้ที่รับประทานอาหารในรูปแบบนี้
สำหรับอาหารประเภทต่างๆ นั้น ได้แก่ อาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง อาหารมังสวิรัติ และอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ ทั้งหมดนี้สามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าอาหารที่มีไขมันต่ำ เพียง 0.3-2 กก.หรือไม่มีความแตกต่างกันเลย หลักฐานเชิงประจักษ์นี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีอาหารประเภทใดดีกว่าอาหารประเภทอื่นในการควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
นักวิจัยสรุปว่า: "การศึกษาวิเคราะห์อภิมาณ สรุปว่า ไม่มีอาหารรูปแบบแบบใด หรือประเภทใด ดีไปกว่ากันในการควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำมากและการทดแทนมื้ออาหารด้วยอาหารสูตรสำเร็จเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั่วไปจะให้พลังงานน้อยกว่าการรับประทานอาหารที่ควบคุมด้วยตนเอง”
ข้อจำกัดของการทดลองที่ตรวจสอบโดยการศึกษานี้คือ ประโยชน์ของการควบคุมน้ำหนักขึ้นอยู่กับการควบคุมน้ำหนักตัวในระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่หลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ในระยะสั้นเท่านั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จอาจต้องใช้กลยุทธ์ด้านพฤติกรรมเข้ามาช่วย ทั้งนี้ มีการศึกษาทดลองเพียงไม่กี่ฉบับที่รายงานข้อมูลที่เกิน 12 เดือน คณะผู้วิจัยแนะนำว่า "ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อประเมินผลกระทบระยะยาวต่อน้ำหนักตัว การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผลลัพธ์ทางคลินิก และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน"