สายัณห์ สดุดี1 สมชัย หลิมศิโรรัตน์3 สัตยา บุญรัตนชู4 ระวี เจียรวิภา1 เจษฎา โสภารัตน์2 และ ศักดิ์อนันต์ แซ่ลิ่ม1
1 ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2 ภาคธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
E-mail:This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
กล้องบันทึกภาพรากพืช (Minirhizotron) เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการประเมินการเจริญเติบโตของรากพืชและสามารถคำนวณพลวัตการเปลี่ยนแปลงของรากพืชในรอบปีได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องทำลายส่วนของพืชที่ศึกษาเพราะในอดีตการศึกษารากของพืช จำเป็นต้องมีการขุดดินลงไปตามความลึกของระบบรากและนำดินขึ้นมาล้างราก เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมากและเป็นการทำลายส่วนของพืชด้วย ดังนั้นการใช้กล้องบันทึกภาพรากพืชจึงมีความนิยมในการนำมาใช้ในการศึกษาทางด้านสรีรวิทยาของพืช รวมไปถึงศึกษาการเข้าทำลายของโรคระบาดของรากพืช ดังเช่น โรครากขาว (white root disease) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Rigidoporus microporus ซึ่งการระบาดในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงได้พัฒนาอุปกรณ์ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการวิจัย ที่ผ่านมาอุปกรณ์นี้จำเป็นต้องซื้อจากต่างประเทศและมีราคาค่อนข้างสูง ผลจากการพัฒนาอุปกรณ์นี้และได้มีการทดสอบในการใช้กับพืชหลายชนิด เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สละ กาแฟ และต้นไม้ป่า พบว่าสามารถถ่ายภาพรากพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว สามารถนำไปใช้งานในภาคสนามได้และวัดผลได้อย่างต่อเนื่อง จากประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพืชเศรษฐกิจอื่น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และข้าว เพราะสามารถศึกษารากพืชในสภาพน้ำขังได้ เพื่อดูทิศทางการเปลี่ยนแปลงของรากพืช ดังนั้นจะมีประโยชน์ในการศึกษาการเจริญของรากในสภาวะภูมิอากาศแปรปรวน เพื่อช่วยในการจัดการให้ปุ๋ยและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากประสิทธิภาพดังกล่าวนี้บริษัทมุ่งที่จะพัฒนาให้เป็นเครื่องมือเชิงพาณิชย์เพื่อทดแทนการนำเข้า
รูปเครื่องมือและองค์ประกอบการทำงาน
การติดตั้งและการวัดผลในสภาพแปลง


การนำไปใช้ประโยชน์ในการวัดศักยภาพของพืช





